วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่6 จริยธรรมและความปลอดภัย

จริยธรรมและพระราชบัญญัติฯ คอมพิวเตอร์
  จริยธรรมในที่นี้หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่ใช้ควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์สารสนเทศ เพื่อการกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง และหลีกเลี่ยงการกระทำความผิดต่อผู้อื่น การกระทำความผิด เช่น การใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ การโฆษณาเกินความจริง กล่าวพาดพิงผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต  และการกระทำความผิดเหล่านี้ไม่มีไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมาย แต่เกิดจากจิตใต้สำนึกของบุคคลมากกว่า ปัจจุบันได่มีการใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยสามารถสรุปลักษณะการกระทำความผิดและบทลงโทษไว้ ดังนี้
  • มาตรา 1-4 กล่าวถึง ข้อกำหนดการใช้และความหมายของคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติฯคอมพิวเตอร์
  • มาตรา 5-7 เป็นมาตราที่เกี่ยวกับบุคคลทั่วไป สรุปได้ดังนี้
                 มาตรา5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                 
                 มาตรา6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


                  มาตรา7  ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ


                  มาตรา 8 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


               
                  มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                   มาตรา 10 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                   
                   มาตรา 11ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท                   
                   

                   มาตรา 12 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10
(1) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(2) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (2) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

                  มาตรา 13  ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา 5 มาตรา6 มาตรา7  มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 หรือมาตรา 11 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                  มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                  มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14

                  มาตรา 16 ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


                 มาตรา 17 ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(1) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(2) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร




  • มาตรา 18-30 อยู่ในหมวด 2 พนักงานและเจ้าหน้าที่ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวน สอบสวน และข้อกำหนดของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการต่อผู้กระทำความผิด
       





อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ คือ การกระทำความผิดทางอาญาโดย

ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือมีลักษณะ ดังนี้


          ลักษณะการกระทำความผิด แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ


1.การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีอำนาจ คือ การเข้าใช้ระบบคอมพิวเติร์โดยไม่ได้รับอนุญาต


สามารถแบ่งได้ดังนี้


    1.1เจาระระบบ เพื่อทำลายหรือเปลี่ยนแปลงส่งผลก่อให้เกิดการทำความผิดด้านอื่นๆเช่น ฉ้อโกงหรือ

ปลอมแปลงเอกสาร

    1.2 การลักลอบดักข้อมูล ใช้เทคนิคหรืออุปกรณ์เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่าย เพื่อลอบดักฟัง ตรวจสอบ 

หรือติดตามข้อมูลที่ สื่อสารระหว่างบุคคล

    1.3 การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเกิดความเสียหายต่อระบบคอมหรือข้อมูลของผู้อื่น มักใช้


ไวรัสเข้าสู่ระบบคอมอื่นๆ


    1.4 การใช้อุปกรณ์ในทางมิชอบ กระทำความผิดด้วยการผลิต แจกจ่าย จำหน่าย หรือส่งเสริมกระทำ


ความผิด
2.การใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบ ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบอาชญากรรมทุกรูปแบบ บางประเทศ


แก้ไขกฎหมายอาญาเดิมแต่ในไทยได้ใช้บทลงโทษคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยว


กับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 

3.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ใช้คอมพิวเตอร์กระทำความผิดในด้านต่างๆแบ่งความผิดได้ 3 


ลักษณะ


       3.1 ปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ มีผลตั้งแต่การป้อนข้อมูลเท็จรวมถึงลบหรือย้ายข้อมูล ทำให้


ข้อมูลนั้นผิดไปจากต้นฉบับ

       3.2 ฉ้อโกง เจตนาเพื่อทุจริตจะเกิดประโยชน์ในลักษณะทรัพย์สิน
       3.3ทำให้สื่ออนาจารเผยแพร่ กระทำความผิดโดยทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ปรากฎแก่ผู้อื่นด้วยการผลิต


ส่งผ่าน จัดให้ได้มาหรือทำให้เผยแพร่ในระบบคอมพิวเตอร์




      ลักษณะผู้กระทำความผิด ผู้กระทำความผิดทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีทั้งแบบเจตนา และผู้ที่มีเจตนาทำเพื่อให้ได้ทรัพสินของผู้อื่น จึงสามารถแบ่งลักษณะของผู้กระทำความผิดได้ดังนี้ 


  1. มือสมัครเล่น มักกระทำเนื่องจากความอยากรู้อยากเห็น คึกคะนอง มักเป็นพวกเด็กหัดใหม่ หรือผู้เริ่ม โดยไม่มีเจตนาร้ายต่อผู้ใด อาชญากรรมประเภทนี้มักทำให้เกิดความรำคาญมากกว่า แต่อย่างไรก้ตามอาจจะพัฒนาไปเป็นแคร๊กเอร์หรือ อาชญากรมืออาชีพ
  2. แคร๊กเกอร์ คือผู้บุกรุกที่เข้าไปรบกวนระบบคอมพิวเอร์ผู้อื่นโดยการสร้างความเสียหาย อาจหมายถึงอาชญากรหลายๆรูปแบบ หรือเป็นพวกผิดปกติ ที่ชอบความรุนแรงเป็นอันตรายต่อผู้อื่น Danger person
  3. อาชญากรมืออาชีพ คือ พวกที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์สูงมาก มีอุปกรณืและเทคโนโลยีเพียบพร้อม มีจุดมุ่งหมายเพื่อหวังทรัพย์สิน โจรกรรมข้อมูลที่เป็นความลับเพื่อนำไปขาย และหลอกลวงด้วยข้อมูลเท็จ 








แนวทางการป้องกัน สามารถป้องกันได้ 4 แนวทาง ดังนี้

  • ป้องกันข้อมูลส่วนตัว โดยการตั้งค่ารหัสเข้าข้อมูลที่ต้องการป้องกัน ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุด


  • การป้องกันการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ คือการป้องกันผู้ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาใช้งานคอมพิวเตอร์ทั้งโดยตรงและผ่านเครือข่าย ทำได้หลายวิธี 
  1. การใช้ Username หรือUser ID และ Password ทั้งนี้การตั้งรหัสไม่ควรใช้วันเกิด หรือ ตัวเลขที่สามารถคาดเดาได้ 

2.การใช้เทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ในการเข้าสู่ระบบ เช่นการใช้สมาร์ทการ์ด


3.การใช้อุปกรณืทางชีวภาพ เป็นการตรวจสอบลักษณะของบุคคลเพื่อการอนุญาตใช้โปรแกรม เช่น การตรวจสอบเสียง ลายนิ้วมือ ม่านตา



  • การสำรองข้อมูล ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรเก็บข้อมูลสำรองไว้ ไม่เก็บไว้ในที่ๆเดียวกันกับระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำการ backup disks 


  • การติดตั้งโปรแกรมค้นหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นวิธีที่แพร่หลายที่สุด ควรติดตั้งโปรแกรมกำจัดไวรัส อย่างน้อย 2 โปรแกรม ต่อ1 เครื่อง เพื่อให้ป้องกันไวรัสได้อย่างทั่วถึง และควรอัพเดตโปรแกรมกำจัดไวรัส อย่างสม่ำเสมอ






จัดทำโดย 
น.ส.วรรัตน์    ทิมละม่อม   เลขที่ 38
น.ส.ศุจินธร     สำราญศิริกุล   เลขที่ 39 
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น